วันที่ 22-24 พ.ค. 2567 ดร.ชัชวาล วงค์ชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ ฝ่ายส่งเสริมงานสหกิจและนวัตกรรม อาจารย์ที่ปรึกษาการศึกษาอิสระ ของ นิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3 นายธนพล ร้อยกรอง และนิสิตระดับปริญญาตรีควบปริญญาโทสาขาชีววิทยา ชั้นปีที่ 3 นาย ธิติวุฒิ รวมสุข และนาย เมธาวินทร์ เกิดเขียว และนักเรียนโครงงานวิทยาศาสตร์ห้องเรียน วมว. ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 นาย รัสปกรณ์ แก้วสระแสนวรโชติ ชั้น ม.6.5 เข้าร่วมงานนิทรรศการและประชุมระดับนานาชาติ ภาคพื้นทวีปเอเชียและแปซิฟิก THE 8th INTERNATIONAL TRADE SHOW FOR HORTICULTURAL AND FLORICULTURAL PRODUCTION AND PROCESSING TECHNOLOGY (HORTI ASIA 2024) ระหว่างวันที่ 22-24 พ.ค. 2567 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพฯ ฮอลล์ 98-99 โดยกิจกรรมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเชื่อมโยงภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิกในด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจ นำเสนอความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับนานาชาติ ในการผลิตพืช การปรับปรุงพันธุ์พืช การจัดการระบบฟาร์มปลูกพืช การเก็บเกี่ยวพืช และการแปรรูปพืช ที่ได้รับความร่วมมือจากองค์กร และบริษัทชั้นนำระดับนานาชาติ เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการและประชุมสัมมนา จากประเทศเยอรมนี แคนนาดา ฝรั่งเศส จีน เนเธอร์แลนด์ ฟิลิปปินส์ อิตาลี่ เบลเยี่ยม ออสเตรเลีย อินเดีย อิสรเอล ไต้หวัน ออสเตรีย สเปน ตุรกี และไทย ภายในงานมีการประชุมสัมมนาทิศทาง อนาคตนวัตกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพพืชทุกประเภทให้ได้มาตราฐานสากล และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระดับชาติ และนานาชาติ โดยได้รับความร่วมมือจากภาครัฐ และภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศ เช่น สถาบันนวัตกรรมแห่งชาติ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute - IRRI) กระทรวงอาหารและการเกษตรแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี หอการค้าไทย-อิตาลี่ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประเทศไทย เป็นต้น
สำหรับการประชุมสัมมนามุ่งเน้นการเข้าร่วมการสัมมนา และแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในเวทีระดับนานาชาติภายใต้หัวข้อ 1.Innovative & Sustainable Horticulture, 2.Technical Working Group on Combine Harvesters of the Asian and Pacific Network for Testing of Agricultural Machinery (ANTAM), 3.Asian and Pacific Professional Young Farmers Exchange Conference and Networking, 4. Durian – The King of Fruits, GERMAN - THAI AGRICULTURAL COOPERATION เป็นต้น ซึ่งจะส่งเสริมให้นิสิตสาขาชีววิทยามีความรู้ และพัฒนาแนวความคิดเชิงงานวิชาการ งานวิจัย และการพัฒนาอาชีพ ทั้งในเชิงนวัตกรรมด้านพืช กลไกทางเศรษฐศาสตร์การผลิตและส่งออกพืช การอารักขาพืช และการสร้างอาชีพในมิติต่างๆ ได้อย่างยั่งยืน