วันที่ 6 กรกฎาคม 2566 กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดยผู้ช่วยอธิการบดี
รองศาสตราจารย์ ดร.อัจฉราภรณ์ ดวงใจ ได้ลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าระยะ 6 เดือนโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2566 โครงการการพัฒนาอาหารเสริมสุขภาพจากเห็ดหลินจือสุขใจ โดยมี ผศ.ดร.สิริวัฒน์ บุญชัยศรี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินงานในพื้นที่ตำบลทุ้งกล้วย อำเภอภูซาง จังหวัดพะเยา
คณะวิทยาศาสตร์ ดำเนินโครงการ การพัฒนาอาหารเสริมสุขภาพจากเห็ดหลินจือสุขใจ โดยมี ฟาร์มเห็ดสุขใจ เป็นตัวอย่างของผู้ประกอบการในพื้นที่ (Local enterprise) ที่ฉลาดในการเลือกใช้ ทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมธุรกิจได้อย่างเหมาะสม กล่าวคือ อาศัยภูมิอากาศที่หนาวเย็นของอำเภอภูซาง จังหวัด พะเยา เพื่อเพาะพันธุ์เห็ดคุณภาพดีที่เติบโตภายใต้สภาพอากาศเย็น เช่น เห็ดนางรมสีชมพู เห็ดนางรมสีทอง เห็ด นางนวล เห็ดนางฟ้า เห็ดหลินจือ ฯลฯ เห็ดที่เพาะได้เป็นแหล่งวัตถุดิบชั้นยอดของสินค้าแปรรูปจากเห็ดที่ หลากหลาย อาทิ เช่น น้ำพริกเห็ดสองนาง เห็ดสวรรค์ แหนมเห็ดสุขจริง สามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำให้แก่ ผู้ประกอบการ เนื่องจากสินค้าแปรรูปจะก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มแก่วัตถุดิบที่ผลิตขึ้นในท้องถิ่น
จากการดำเนินโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรมในปีที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์จากสาขาวิชาวัสดุ ศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยาได้ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีการทอดแบบไร้น้ามันให้แก่ ผู้ประกอบการ เกิดเป็นนวัตกรรมเห็ดนางนวลทอดอบกรอบปรุงรสเกลือหิมาลัยเป็นการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี สมัยใหม่ในกระบวนการผลิตได้อย่างลงตัว ซึ่งปัจจุบันกลายเป็นสินค้าขายดีที่ได้รับความนิยม ช่วยเพิ่มกำไรให้กับ ผู้ประกอบการ ดังนั้นเพื่อสานต่อแนวคิดการใช้นวัตกรรมนาการแปรรูปสินค้าให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐศาสตร์ แก่เห็ดที่ผลิตจากฟาร์มเห็ดสุขใจ ทีมวิจัยค้นพบว่าฟาร์มเห็ดสุขใจมีเห็ดสำคัญอีก 1 ชนิดที่ยังไม่ได้รับการส่งเสริม อย่างเต็มศักยภาพ นั่นคือ เห็ดหลินจือ ซึ่งปัจจุบันผู้ประกอบการจัดจำหน่ายเพียงในรูปแบบเห็ดฟางตากแห้ง บรรจุในถุงพลาสติกในราคาขีดละ 180 บาทเท่านั้น
ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงประสงค์คิดค้นนวัตกรรมการแปรรูปเห็ดหลินจือให้บริโภคได้สะดวกเหมาะกับวิถีชีวิตที่ เร่งรีบในสังคมปัจจุบันแต่ยังคงไว้ซึ่งคุณประโยชน์ของเห็ดหลินจือให้ได้มากที่สุด ในเบื้องต้นทีมวิจัยจะพัฒนา “ผลิตภัณฑ์เยลลี่น้าสมุนไพรเห็ดหลินจือสุขใจ” เนื่องจากบริโภคง่ายเพียงบิดฝาออกจากซองเยลลี่ก็สามารถ บริโภคได้ทันทีด้วยการดูดจากซองโดยตรง กระทำได้ง่ายทุกสภาพการณ์ในทุกสถานที่ อีกทั้งเยลลี่ยังเป็นอาหารที่ มีความอ่อนนุ่มจึงเหมาะให้ประชากรกลุ่มสูงวัยได้รับประทาน ทีมวิจัยหวังใจว่าผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโครงการนี้จะ ไม่เพียงตอบโจทย์ด้านการสร้างมูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐศาสตร์ให้แก่ชุมชนชาวพะเยาด้วยนวัตกรรม แต่ยังสามารถ ตอบสนองต่อประเด็นสังคมด้านการดูแลผู้สูงอายุซึ่งกำลังขยายตัวอย่างรวดเร็วในสังคมไทยได้อย่างดี