โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพงาน 13th SCiUS Forum ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ (วมว.)

1/5/2566 15:11:17น. 1843
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพงาน 13th SCiUS Forum ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ (วมว.)


          โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นเจ้าภาพจัดงานกิจกรรม SCiUS Forum ครั้งที่ 13 ระหว่างวันที่ 2 - 5 พฤษภาคม 2566 เพื่อให้นักเรียนโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือโครงการ วมว.ทั่วประเทศ รวมถึงคณะครูและนักเรียนจากประเทศญี่ปุ่น ได้นำเสนอโครงงานวิทยาศาสตร์และเผยแพร่ผลงานตลอดจนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการ โดยครั้งนี้ รองศาสตราจารย์.ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา กล่าวรายงานความเป็นมาของกิจกรรม ว่าที่ร้อยตรี ณรงค์ โรจนโสทร ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ และรองศาสตราจารย์ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดในพิธี โดยจัดขึ้น ณ ห้อง UB003 อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ มหาวิทยาลัยพะเยา

          กิจกรรม SCiUS Forum ครั้งที่ 13 เกิดจากความร่วมมือทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรมระหว่างสถาบัน โดยมีสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และคู่ศูนย์มหาวิทยาพะเยา - โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ร่วมเป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งมีนักเรียนในโครงการ วมว. จากมหาวิทยาลัยและโรงเรียนคู่ศูนย์ทั่วประเทศเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 16 มหาวิทยาลัย 19 โรงเรียน มีผู้เข้าร่วมกว่า 1,130 คน และในครั้งนี้ มีคณะครูและนักเรียนจากประเทศญี่ปุ่น เข้าร่วมกิจกรรมกล่าวสุนทรพจน์ด้านการศึกษา วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และการใช้ชีวิตในญี่ปุ่น จำนวน 4 โรงเรียน ถือว่าเป็นก้าวแรกในการยกระดับการจัดกิจกรรม SCiUS Forum ให้มุ่งสู่ความเป็นสากล และระดับนานาชาติ

          กิจกรรมในระหว่างวันที่ 2 - 5 พฤษภาคม 2566 มีการนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์สากล ด้วยกระบวนการ Active learning ผ่านรูปแบบ Digital platform กิจกรรมพิเศษ Idea Pitching การนำเสนอแบบ poster การบรรยายพิเศษเกี่ยวกับเทคโนโลยีการศึกษาและนวัตกรรมหลากหลายหัวข้อ อาทิ
     หัวข้อ "เข็มทิศวิจัยเพื่อเป้าหมายประเทศ" โดย คุณเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกรรมการบริหาร CT Asia, CT Asia Robotics
     หัวข้อ "Non-human Primates and Human Primates: Biodiversity and Biotechnology" โดย ศ.ดร.สุจินดา มาลัยวิจิตรนนท์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยไพรเมทเเห่งชาติ
     หัวข้อ "เจ้าพ่อวงการหุ่นยนต์ไทยไปไกลถึงญี่ปุ่น" โดยคุณเฉลิมพล ปุณโณทก ประธานกรรมการบริหาร CT Asia, CT Asia Robotics
     หัวข้อ "ธุรกิจที่ดีต้องมีนวัตกรรม : เหตุผลที่ต้องเริ่มธุรกิจตั้งแต่ยังเรียน" โดยคุณรัชวุฒิ พิชยาพันธ์ กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง แอปพลิเคชัน Fixzy เป็นต้น

          โครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือโครงการ วมว. เป็นโครงการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนสำหรับผู้เรียนที่มีความสามารถพิเศษทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นผู้กำกับดูแลการดำเนินการ การบริหาร จัดการหลักสูตรการเรียนการสอนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนซึ่งอาจเป็นโรงเรียนเครือข่ายหรือโรงเรียนในกำกับของมหาวิทยาลัยโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน

          มหาวิทยาลัยพะเยาได้เข้าร่วมโครงการห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนโดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย (โครงการ วมว.) ภายใต้การดำเนินงานของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา ตั้งแต่ปีการศึกษา 2558 ซึ่งปัจจุบันมีนักเรียนในโครงการ วมว.ที่สำเร็จการศึกษาแล้วจำนวน 6 รุ่น นับเป็นความภาคภูมิใจอย่างยิ่งของมหาวิทยาลัย ที่จะส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตทรัพยากรบุคคลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยังยืน





ขอเชิญเข้าชมนิทรรศการเสมือนจริงบนแพลตฟอร์ม Artsteps รูปแบบ Online “13th SCiUS Forum ณ มหาวิทยาลัยพะเยา”







   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยพะเยา   
ข้อมูล/ข่าว :    ธิดาเดือน อุตยานะ /งานสื่อสารองค์กร   
เพิ่มข่าวโดย :   tidaduen.ut@up.ac.th   
1/5/2566 15:11:17น. 1843
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน