มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 12 ภายใต้หัวข้อ “Research & Innovation for sustainable development goals (SDGs)” เพื่อเป็นเวทีทางวิชาการ ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน การจัดงานครั้งนี้ มีผู้สนใจเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย จำนวนทั้งสิ้น 210 ผลงาน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 27 มกราคม 2566 ณ อาคาร 99 ปี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (ปวง ธมฺมปญฺโญ) มหาวิทยาลัยพะเยา
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย ประธานคณะกรรมการจัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 12 กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดงานครั้งนี้ว่า มหาวิทยาลัยพะเยา จัดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัยอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ซึ่งในครั้งนี้เป็นครั้งที่ 12 มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ได้แก่ งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ งานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มีเป้าหมายสูงสุดคือ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางสังคม สิ่งแวดล้อม ให้เกิดความยั่งยืน และเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจ ในการแข่งขันกับนานาอารยประเทศ
การประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 12 นี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อ “Research & Innovation for sustainable development goals (SDGs)” ซึ่งจะเป็นเวทีทางวิชาการเพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สร้างเครือข่ายระดับชาติ ในการพัฒนาศักยภาพของสถาบันการศึกษาของไทย โดยการสนับสนุนการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรม ที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะนำไปสู่การนำองค์ความรู้ไปใช้ในการพื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมเพื่อขับเคลื่อนประเทศ ต่อไป
อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ กล่าวเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติพะเยาวิจัย ครั้งที่ 12 กล่าวว่า มหาวิทยาลัยพะเยา มีปณิธานมุ่งมั่น "ปัญญาเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน" และวิสัยทัศน์ "มหาวิทยาลัยสร้างปัญญา เพื่อนวัตกรรมชุมชน สู่สากลอย่างยั่งยืน" มีภารกิจสำคัญครอบคลุมทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งเสริมการนำองค์ความรู้จากการวิจัยและนวัตกรรม มาพัฒนาชุมชนและสังคมให้เป็นรูปธรรม ร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ เอกชน และชุมชน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศและตอบโจทย์ท้าทายใหม่ของสังคม ตามแนวทางการพัฒนาของมหาวิทยาลัยในกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-Based and Community Engagement University)
มหาวิทยาลัยส่งเสริมให้มีการประชุมวิชาการระดับชาติ “พะเยาวิจัย” ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีนี้เป็นครั้งที่ 12 เป็นการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและความเข้มแข็งทางวิชาการของสถาบันระดับอุดมศึกษาของไทย ที่จะเป็นเวทีให้กับอาจารย์ นักวิจัย บุคลากร นิสิตและนักศึกษา ได้เผยแพร่องค์ความรู้จากกระบวนการวิจัย รวมถึงได้เรียนรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างเครือข่ายการทำงานวิจัย นำไปสู่การนำองค์ความรู้มาต่อยอดเกิดเป็นงานวิจัยและนวัตกรรมพร้อมใช้ เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมในการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนและสังคม เพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและความเป็นอยู่ที่ดีทางสังคม และขับเคลื่อนประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ การจัดการประชุมวิชาการ “พะเยาวิจัย” จะเป็นอีกกลไกหนึ่งที่มีส่วนในการขับเคลื่อนเป้าหมายของกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ซึ่งต้องการให้เกิดการเสริมพลังจากการบูรณาการการทำงานจากหลากหลายสถาบัน (Synergy) เกิดการแลกเปลี่ยนบุคลากรที่มีคุณภาพอย่างคล่องตัว (Mobility) เกิดการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรร่วมกัน รวมทั้งเป้าหมายในการสร้างนวัตกรรมให้กับประเทศ (Innovation) ต่อไป
มหาวิทยาลัยได้มีการจัดรูปแบบการนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการฯ ให้เป็นลักษณะ Hybrid โดยมีทั้งการนำเสนอแบบ Onsite Conference ณ มหาวิทยาลัยพะเยา และ Online Conference ผ่านระบบ Zoom Conference และเพื่อเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้กับนักวิจัยของมหาวิทยาลัย จึงได้จัดให้มีการมอบรางวัลให้กับนักวิจัยแบ่งเป็น 2 รางวัล ได้แก่
1. รางวัลโครงการ “1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม”
2. รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยดีเด่นในภาค Oral Presentation และ Poster Presentation
การมอบรางวัลผลการดำเนินงาน “1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม” ประจำปี 2565 เป็นการมอบรางวัลดีเด่นให้กับผลงานที่มีคุณภาพและมีประโยชน์ต่อสังคม ชุมชน มี 3 ระดับ ดังนี้
ระดับทองแดง ได้แก่
ระดับเงิน ได้แก่
ระดับทอง ได้แก่
การประชุมวิชาการพะเยาวิจัย ครั้งที่ 12 นี้ จะเป็นเครื่องมือในการสร้างเครือข่ายเพื่อพัฒนานักวิจัยของมหาวิทยาลัยพะเยา และนักวิจัยของประเทศให้สามารถนำความรู้ และประสบการณ์ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ไปช่วยส่งเสริมพัฒนาผลงานสู่ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และแก้ปัญหาให้กับชุมชนและสังคม เพื่อความยั่งยืนของประเทศชาติต่อไป