กองบริหารงานวิจัยพร้อมด้วยคณะกรรมการ MAI ร่วมติดตาม ชม ช่วย เชียร์ โครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม คณะนิติศาสตร์

20/12/2565 10:33:05น. 949
มหาวิทยาลัยพะเยา
        วันที่ 8 ธันวาคม 2565 กองบริหารงานวิจัย พร้อมด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพสู่ความสำเร็จโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (MAI) รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรา พงษ์นิล คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปะราลี โอภาสนันท์ คณะพยาบาลศาสตร์ ได้ติดตามความก้าวหน้าโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 (ชม ช่วย เชียร์) โครงการนวัตกรรมสร้างเส้นทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน “ผ้าทอไทลื้อ” ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน เพื่อการพัฒนาที่ยังยืน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์กาญจนุรัตน์ ไมรินทร์ คณะนิติศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินงานในพื้นที่ตำบลสระ อำเภอเชียงม่วน จังหวัดพะเยา
        คณะนักวิจัย เข้าไปร่วมกับชุมชนพัฒนารูปการทอผ้าให้ทันสมัย ลดขั้นตอน และผลิตด้ายได้เองจากการสร้างโมเดลคล้ายกับ “ผาฝ้ายป้าเพียร” ในหลากหลายสถานที่ซึ่งยังเป็นการช่วยส่งเสริมการปลูกต้นฝ้ายซึ่งเป็นไม้ยืนต้นสร้างพื้นที่ป่าฝ้ายในเป็นสถานที่พักผ่อนให้ร่มเงาลดโลกร้อนอีกด้วย นอกจากนั้นสืบค้นเรื่องราวของการทอผ้ายังช่วยทำให้ผ้าทอมีความน่าสนใจและสืบทอดเรื่องราวสู่คนรุ่นหลังได้อีกด้วย ในเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดผู้วิจัยจะสร้างองค์ความรู้ที่ยั่งยืนด้วยการเลือกใช้กระบวนการ DESING THINKING และวิธีการเรียนการสอนโดยใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วม (active learning) มาเป็นเครื่องมือในการจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดจำหน่ายอย่างเป็นระบบเนื่องจากเทคนิคการเรียนรู้แบบผู้เรียนมีส่วนร่วมนี้เป็นการเรียนการสอนที่ผู้เรียนจะได้ทำกิจกรรม ฝึกปฏิบัติ และเรียนรู้จากประสบการณ์ของตนเองด้วยวิธีการที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ผู้นำชุมชนและผู้สูงอายุสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ นวัตกรการตลาดในชุมชนสามารถเข้าใจง่ายซึ่งจะนำไปซึ่งการพัฒนาได้อย่างยั่งยืน


        การขับเคลื่อนโครงการวิจัย ได้มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชนกับนักวิจัยที่ลงพื้นที่เป็นเวลายาวนานมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างคนในพื้นที่กับนักวิชาการ ทั้งในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้อง การตลาด สถาปัตยกรรม และเศรษฐศาสตร์ นอกจากนั้นยังอาศัยความร่วมมือของชุมชนข้างเคียงผสมผสานผลิตภัณฑ์ของชุมชนให้ทันสมัย เช่น การนำงานสานไม้ไผ่มาสร้างเป็นฐานกระเป๋าสานกับผ้าทอ หรือนำลายผ้าทอปรับเป็นเนคไท หรือถุงผ้า เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อสร้างแรงขับของพลังชุมชนร่วมกัน รวมถึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐทั้งเทศบาลเมืองเชียงม่วนและองค์การบริหารส่วนตำบลสระกับการมีพื้นที่ให้ผลิตภัณฑ์วางจำหน่าย ซึ่งเมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัยแล้วผลิตภัณฑ์ภายใต้ทุนวัฒนธรรมเดิมจะได้รับการพัฒนาและมีเส้นทางจัดการจำหน่ายโดยมีนักนวัตกรชุมชนที่ผ่านการพัฒนาจากโครงการวิจัยเป็นผู้ดูแลด้านการตลาด เพื่อให้ผลประกอบการการพัฒนาและจำหน่ายผลิตภัณฑ์เป็นในทิศทางที่ดีขึ้น


   

facebooktwitterline

แท็กที่เกี่ยวข้อง

ภาพ :   ณัฏฐ์ จันทร์บรรจง   
ข้อมูล/ข่าว :    เด่นนภา ปัสตัน   
เพิ่มข่าวโดย :   dennapa.pa@up.ac.th   
20/12/2565 10:33:05น. 949
Print Friendly and PDF

ติดตามข่าวสาร มพ.


ติดตามข่าวสารผ่าน tiktok มพ.

@uptiktok2024

แอปพลิเคชั่น Smart UP

ดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้

ข่าวที่มีผู้อ่านสูงสุด ย้อนหลัง 7 วัน