วันที่ 6 ธันวาคม 2565 กองบริหารงานวิจัย พร้อมด้วยคณะกรรมการพัฒนาคุณภาพสู่ความสำเร็จโครงการ 1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม (MAI) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัชระ จตุพร วิทยาลัยการศึกษา และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คมกฤช ตาชม คณะศิลปะศาสตร์ได้ ติดตามความก้าวหน้าโครงการ
1 คณะ 1 ชุมชนนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2565 (ชม ช่วย เชียร์) โครงการการยกระดับศักยภาพการแข่งขันของผลิตภัณฑ์ชุมชน “ปลานิลมินิสติ๊ก” ตำบลแม่ปืม อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.เอราวิล ถาวร คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ ดำเนินงานในพื้นที่ตำบลบ้านต๊ำ อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา
“ปลานิลมินิสติ๊ก” เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ของวิสาหกิจชุมชนบ้านโป่งเกลือ เบื้องต้นพบว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังไม่ได้รับความนิยมและเป็นที่รู้จักจากลูกค้าเท่าที่ควร เนื่องจากขาดวางแผนการตลาดที่เหมาะสม บรรจุภัณฑ์ยังไม่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า และ ไม่ได้กำหนดมาตรฐานการผลิตที่เหมาะสม คณะวิศวกรรมศาสตร์
จึงมีความสนใจที่จะเข้ามาช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวขึ้น โดยประยุกต์หลัก BCG Model กับเทคนิคทางวิศวกรรมร่วมกันเพื่อเกิดเป็นองค์ความรู้กระบวนการพัฒนาเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน มากไปกว่านั้น ผู้วิจัยได้เลือกวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่วิสาหกิจชุมชนผ่านตัวแบบการเรียนรู้และนวัตกรรม (Learning and Innovation Platform; LIP) เพื่อให้วิสาหกิจชุมชนเกิดความเข้าใจในและสามารถนำไปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และอนาคตวิสาหกิจชุมชนสามารถเป็นผู้สร้างองค์ความรู้ต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนได้