วันพุธที่ 21 กันยายน 2565 อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ มอบโล่เกียรติคุณให้กับผู้ที่ได้รับรางวัลจากโครงการประกวดมาตรฐานเว็บไซต์ภายในหน่วยงานมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อก้าวสู่ความเป็นมาตรฐานสากลและสนับสนุนการจัดอันดับเว็บไซต์มหาวิทยาลัยโลก ในที่การประชุมคณะกรรมการบริหาร มหาวิทยาลัยพะเยา ครั้งที่ 85 (18/2565) ห้องประชุมบวร รัตนประสิทธิ์
มหาวิทยาลัยพะเยาได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยพะเยาเพื่อให้มีความเป็นมาตรฐานสากลมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการดำเนินการและได้จัดการประชุมร่วมกับผู้บริหารคณะ นักพัฒนาระบบ และผู้ดูแลเว็บไซต์ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564 เป็นต้นมา
ศูนย์บริการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา (CITCOMS) ได้จัดโครงการประกวดมาตรฐานเว็บไซต์ภายในหน่วยงานมหาวิทยาลัยพะเยา เพื่อผลักดันการพัฒนาเว็บไซต์ ตามทิศทางที่มหาวิทยาลัยกำหนด เป็นแหล่งเผยแพร่สารสนเทศที่มีความถูกต้องและเป็นปัจจุบัน ครอบคลุมข้อมูลของ หลักสูตรที่เปิดสอน ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรม ศิลปวัฒนธรรม อีกทั้งยังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก เพื่อการพัฒนาความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล (Digital University) โดยการจัดอันดับของเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) ตามตัวชี้วัดที่ 1 ในด้าน VISIBILITY (or Impact) เพื่อให้มีมาตรฐานเทียบเท่าระดับสากล และยังเป็นการเพิ่มการมองเห็น เว็บโดเมนมหาวิทยาลัยพะเยา บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
อย่างเป็นระบบ
รายชื่อหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยพะเยาที่ได้รับรางวัล โล่เกียรติคุณ และเกียรติบัตร ตามหลักเกณฑ์ของการประกวดมาตฐานเว็บไซต์ภายในหน่วยงานดังนี้
โล่รางวัลเกียรติคุณ ประเภทส่วนงานสายวิชาการ
รางวัลชนะเลิศ มหาวิทยาลัยพะเยาวิทยาเขตเชียงราย
รองชนะเลิศอันดับ 1 คณะเภสัชศาสตร
รองชนะเลิศอันดับ 2 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
ใบประกาศเกียรติบัตร ประเภทส่วนงานสายวิชาการ
รางวัลชมเชย คณะแพทยศาสตร์
โล่รางวัลเกียรติคุณ ประเภทส่วนงานสายสนับสนุน
รางวัลชนะเลิศ กองแผนงาน
รองชนะเลิศอันดับ 1 กองกิจการนิสิต
รองชนะเลิศอันดับ 2 กองอาคารสถานที่
ใบประกาศเกียรติบัตร ประเภทส่วนงานสายสนับสนุน
รางวัลชมเชย กองกฎหมาย
รางวัลชมเชย กองบริหารงานวิจัย
กำหนดเกณฑ์การตัดสินดังต่อไปนี้
1. ข่าวประชาสัมพันธ์
1.1 ข่าวประชาสัมพันธ์ทั่วไป เช่น กิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยงาน มีความสม่ำเสมอ
1.2 ปฏิทินกิจกรรมของหน่วยงาน
2. การสร้างความสะดวกให้ผู้ใช้บริการ มีระบบสืบค้นข้อมูล (Search Engine)
3. การออกแบบเว็บไซต์มีสวยงามและมีความเหมาะสม
4. คลังความรู้ (KM)
5. เว็บไซต์เพื่อสนับสนุน Web Ranking มหาวิทยาลัยพะเยา
5.1 การกำหนด Title Tag ให้กับเว็บไซต์
5.2 การกำหนด Meta Keywords ให้กับเว็บไซต์
5.3 การกำหนด Meta Description ให้กับเว็บไซต์
5.4 การกำหนด Alt Attribute ให้กับเว็บไซต์
5.5 การกำหนด H1 Tag ให้กับเว็บไซต์
5.6 การติดตั้ง Social Share ให้กับเว็บไซต์
5.7 FaceBook ที่เผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงานและมีลิงค์ย้อนกลับมาเว็บไซต์ของหน่วยงาน
5.8 การลดขนาดภาพ ให้เหมาะสมกับเว็บไซต์
5.9 ติดตั้ง SSL Certificate (https) ความปลอดภัยให้กับเว็บไซต์ เพื่อให้ google ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์ เพื่อรองรับการทำดัชนีค้นหาด้วย Google Search
5.10 ติดตั้ง Google Analytics ที่เว็บไซต์ของหน่วยงาน เพื่อใช้วิเคราะห์เว็บไซต์
5.11 Youtube ของหน่วยงานใช้เผยแพร่ข่าวสารของหน่วยงาน และมีลิงค์ย้อนกลับมายังเว็บไซต์ของหน่วยงาน
5.12 รองรับการแสดงผลบนหน้าจออุปกรณ์ต่าง ๆ (Web Responsive)
5.13 ความเร็วของการใช้งานเว็บไซต์ของส่วนงาน
5.14 กำหนดนโยบาย Cookie Consent ของหน่วยงาน
5.15 การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงาน เวอร์ชั่นภาษาอังกฤษ
5.16 การตรวจสอบ Dead Link ภายในเว็บไซต์ ของส่วนงาน
* เกณฑ์คะแนนทางศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ปรับเกณฑ์ให้ทันกับความเป็นมาตรฐาน อันกรอรึทึม และ Trend การพัฒนาเว็บไซต์ในช่วงเวลานั้น ๆ รวมถึงให้สอดคล้องกับ Best Practices ของเว็บโอเมตริกซ์ (Webometrics) และจะดำเนินการพัฒนาให้ครอบคลุมตามตัวชี้วัดที่กำหนดต่อไป
มหาวิทยาลัยพะเยาได้มีการกำหนดทิศทางการพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัย
1. ทุกส่วนงานควรพัฒนาเว็บไซต์ทั้งในรูปแบบภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพ มีความถูกต้องเป็นปัจจุบันและได้รับการปรับปรุงข้อมูลอย่างต่อเนื่อง รองรับการใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์
2. ทุกส่วนงานควรมอบหมายผู้รับผิดชอบพัฒนาเว็บไซต์ปรับปรุงข้อมูลสารสนเทศ และข่าวประชาสัมพันธ์ทั้งในเว็บไซต์ของส่วนงาน ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
3. ทุกส่วนงานควรพัฒนาเว็บไซต์ภายในมหาวิทยาลัยพะเยาตามหลักของเอสอีโอ (SEO: Search Engine Optimization) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการค้นหาข้อมูลของเครื่องมือสืบค้น และเพื่อสนันสนุนการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกโดยเว็บโอเมตริกซ์ ซึ่งสะท้อนถึงความเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลของมหาวิทยาลัยพะเยาในภาพรวม
4. ทุกส่วนงานควรกำหนดให้มีกำหนดการตรวจสอบประสิทธิภาพเว็บไซต์ทั้งในด้านคุณภาพ ด้านความเป็นปัจจุบันของสารสนเทศ และด้านประสิทธิภาพของการสืบค้นได้ง่ายบนเว็บไซต์
*ข้อแนะนำ ทุกส่วนงานควรมีการจัดเก็บ หรือทําสําเนาข้อมูลเดิม หรือข้อมูลเก่า ภายในเว็บไซต์ไว้อย่างเป็นระบบ ก่อนการปรับปรุงทุกครั้ง และสามารถเรียกดูย้อนหลังได้ ไม่สูญหาย แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงหน้าเว็บปัจจุบันไปแล้วหรือคงรักษาใช้ลิงค์เดิมของเว็บไซต์เก่าในเว็บไซต์ใหม่