วันจันทร์ที่ 13 กันยายน 2564 รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน กิจกรรม Pitching การประกวดรางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) มหาวิทยาลัยพะเยา 2564 โดยมี นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย กล่าวรายงาน ณ ห้อง ICT 1207 (Studio งานผลิตสื่อนวัตกรรม) อาคารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา
สำหรับกิจกรรมการประกวดรางวัลสนันสนุนพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ได้จัดขึ้นภายใต้ประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการบริการวิชาการด้วยองค์ความรู้และนวัตกรรมเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน ผ่านรูปแบบ Pitching และนำเสนอผลงานด้วย Video Presentation ผ่านโปรแกรม zoom โดยมี “พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space)” ให้ความสนใจและเข้าร่วมการประกวดรางวัลดังกล่าว จำนวน 16 พื้นที่ จาก 10 หน่วยงาน และ “พื้นที่การเรียนรู้” ที่ผ่านการพิจารณาคัดคัดเลือก มีจำนวนทั้งสิ้น 11 พื้นที่ โดยกรรมการผู้ตัดสินได้รับรับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 ท่าน ประกอบไปด้วย
1. รองศาสตราจารย์ ดร.พีรเดช ทองอำไพ ผู้อำนวยการสถาบันคลังสมองของชาติ
2. นายณรงค์ชัย สุทธิกุลบุตร ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา
3. รองศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชลธิดา เทพหินลัพ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ
5. นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย
ในกิจกรรมดังกล่าว จะมีการตัดสินผลการประกวด “พื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space)” ที่มีผลการดำเนินงานโดดเด่น มีความสามารถในการบริหารจัดการจนทำให้เกิดผลกระทบในการเปลี่ยนแปลงหรือการพัฒนาในด้านต่างๆ ผ่านการทำงานในลักษณะหุ้นส่วนความร่วมมือ (Collaboration) ที่ทำให้เกิดผลสำเร็จและการพัฒนาที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
รางวัล Platinum ได้แก่ Phayao Learning City Route โดย รศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ คณะศิลปศาสตร์
รางวัล Gold ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงมหาวิทยาลัยพะเยา โดย ผศ.ดร.บุญฤทธิ์ สินค้างาม คณะเกษตรศาสตร์และทรัพยากรธรรมชาติ
รางวัล Silver ได้แก่ พื้นที่การเรียนรู้ด้านการออกแบบพัฒนานวัตกรรมและสร้างผู้ประกอบการ โดย ผศ.ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษพล สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
รางวัล Bronze ได้แก่
1. ศูนย์การเรียนรู้ผู้สูงวัยวัดแม่กาห้วยเคียน (ศูนย์พุฒิภัทร) โดย รศ.ดร.ประยงค์ จันทร์แดง คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์
2. ระเบียงวัฒนธรรมกว๊านพะเยา โดย อาจารย์จารุวรรณ โปษยานนท์ คณะบริหารธุรกิจและนิเทศศาสตร์
3. พื้นที่การเรียนรู้กระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผักตบชวาจากผักตบชวาด้วยนวัตกรรมการอบแห่งพลังงานแสงอาทิตย์ของชุมชนจังหวัดพะเยา โดยรศ.ดร.ต่อพงศ์ กรีธาชาติ คณะพลังงานและสิ่งแวดล้อม
4. ศูนย์การเรียนรู้เกษตรชุมชนเวียงลอ โดย ผศ.ดร.ธนาทิพย์ จันทร์คง คณะวิศวกรรมศาสตร์
5. พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยามหาวิทยาลัยพะเยา โดย ผศ.ดร.ทิพย์วรรณ สรรพสัตย์ คณะวิทยาศาสตร์
6. ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมไทลื้อการท่องเที่ยววัฒนธรรมสร้างสรรค์ วัดหย่วน ตำบลหย่วนอำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา โดย อาจารย์ปรียาชนก เกษสุวรรณ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์และศิลปกรรมศาสตร์
7. มีสิทธิแอพพลิเคชั่น (Me–Sitthi Application) แพลตฟอร์มแห่งการเรียนสวัสดิการสังคมแบบบูรณาการ คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย ผศ.ดร.ฉัตรทิพย์ ชัยฉกรรจ์และคณะ
8. โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพผู้สุงอายุ (วัดบ้านต๋อมดง) โดย ผศ.ดร.ปะราลี โอภาสนันท์ คณะพยาบาลศาสตร์
กิจกรรม Pitching ในการประกวดรางวัลสนับสนุนพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) ในครั้งนี้ จะเป็นกิจกรรมที่เป็นแรงกระตุ้นให้เกิดพื้นที่การเรียนรู้ (Learning Space) อันจะช่วยขับเคลื่อนและหนุนเสริมแนวคิดดังกล่าวให้เกิดเป็นรูปธรรม เกิดการขยายผลการดำเนินงานให้เกิดความยั่งยืน ต่อไป