การดำเนินโครงการแข่งขัน U2T Hackathon ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) ณ โรงแรม M2 Hotel Waterside จังหวัดพะเยา ได้ผู้ผ่านเข้าสู่รอบคัดเลือก 5 ทีมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว มหาวิทยาลัยพะเยา โดยกองบริหารงานวิจัย ในฐานะเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษา 8 แห่ง (Node) ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดำเนินกิจกรรมแฮกกะธอน (Hackathon) ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ซึ่งประกอบด้วยมหาวิทยาลัยในร่วมดำเนินงานในพื้นที่จำนวน 18 สถาบัน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ในพื้นที่รับผิดชอบ 489 ตำบล ใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้ดำเนินจัดกิจกรรมการแข่งขันแฮกกาธอน (Hackathon) ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) รอบสุดท้ายเพื่อเฟ้นหา 5 ทีมที่ดีที่สุดขึ้น ในวันที่ 2 กรกฏาคม 2564 ผ่านการถ่ายทอดสด บนสื่อออนไลน์ FACE BOOK LIVE STREAM : “กองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา DRAUP”
โดยการแข่งขันเมื่อวันที่ 2 กรกฏาคม 2564 ที่ผ่านมาได้รับเกียรติจากคณะกรรมการคัดเลือกผลงานรอบตัดสินในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) จากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 9 ท่าน ประกอบด้วย
1. รองศาสตราจารย์ ดร.เสมอ ถาน้อย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยพะเยา ประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน U2T Hackathon ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)
2. รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานคณะกรรมการ RSI ภาคเหนือ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สันธิวัฒน์ พิทักษ์พล ผู้อำนวยการสถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา
4. นายธงชัย ตั้งใจดี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
5. นายสนามชัย แพนดี นักพัฒนานวัตกรรม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน)
6. นายชาญวิทย์ ตรีเดช นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่ผู้จัดการกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
7. นายณรงค์ชัย สุทธิกุลบุตร ประธานหอการค้าจังหวัดพะเยา
8. นายณัฐวุฒิ ธรรมาตานนท์ (ผู้แทน) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กร ธนาคารออมสิน
9. นางกัญญา ศรีนวลชาติ นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
10. นางสาววิราภรณ์ มงคลไชยสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
11. นางสาวอัญชลี เทียมคีรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยพะเยา
โดยทีมที่ได้รับคัดเลือกทั้ง 5 ทีม ที่จะได้สิทธิ์เข้าแข่งขันต่อในระดับประเทศพร้อมได้รับโล่เชิดชูเกียรติและเงินรางวัลต่อยอดกิจกรรม จำนวน 50,000 บาท ทั้งนี้ได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุภกร พงศบางโพธิ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยพะเยา เป็นผู้มอบรางวัลให้กับทีมชนะเลิศในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) ดังกล่าว ประกอบด้วย
ทีม => Rice is Life จาก มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ทีม => Nile Creek Rescue จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาเชียงราย
ทีม => My straw House จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ทีม => น้ำอ้อยป่าตุ้ม จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ทีม => มุส่าโต่ ห่อทีหล่า จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
ทั้งนี้การแข่งขันที่ผ่านมา มีทีมที่ส่งเข้าประกวดแข่งขันในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือ) มากถึง 195 ทีม และผ่านการคัดเลือกรอบแรก ได้ทีมเข้าประกวด 22 ทีม และรอบสุดท้าย 5 ทีม และรับเงินรางวัล จำนวน 50,000 บาท พร้อมสิทธิ์ตัวแทนเข้าไปแข่งขันในระดับประเทศ อีก 40 ทีม คัดเลือกทีมที่ดีที่สุดระดับประเทศเพียง 5 ทีม เพื่อชิงเงินรางวัล 100,000 บาท พร้อมรับโล่เชิดชูเกียรติเพื่อต่อยอดและพัฒนาสู่การเป็นผู้ประกอบการนวัตกรรมชุมชนในต่อไป โดยการแข่งขันดังกล่าวเป็นหนึ่งในกิจกรรมการพัฒนาทักษะแก่ผู้เข้าร่วมโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (มหาวิทยาลัยสู่ตำบลสร้างรากแก้วให้ประเทศ) ที่เปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานได้ระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์บนปัญหาและความต้องการในพื้นที่จริงกว่า 3,000 ตำบล เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาด้านนวัตกรรม ที่ตอบโจทย์กับบริบทในพื้นที่ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning) ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” ใน 4 ด้าน ได้แก่
1=> Creative Economy
2=> Technology/Health Care
3=> Circular Economy
4=> Art and Culture